บุคลาการคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบด้วย
1. ผศ. ดร. นำพร ปัญโญใหญ่
2. ผศ.ดร. ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย
3. อาจารย์ ดร. โชติพงศ์ กาญจนประโชติ
4. อาจารย์ ดร. ทิพาพร คำแดง
ปฏิบัติภาระกิจด้านงานบริการวิชาการในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ให้กับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่น ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ประกอบด้วย
1. ห้างหุ่นส่วนจำกัด สักทองแพร่การสุรา อ.สอง จ.แพร่
2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุราเครือทอง อ.สอง จ.แพร่
3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุราแก่งเสือเต้น อ.สอง จ.แพร่
4. สุรากลั่นชุมชนสุราพรทิพย์ อ.สอง จ.แพร่
5. วิสาหกิจชุมชนทรัพย์ล้านนา อ.สอง จ.แพร่
สืบเนื่องจากตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่น ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ได้เข้ามาขอรับคำปรึกษาจาก บุคลาการคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนเชื้อเพลิงและราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นสำหรับกระบวนการกลั่นสุรา ตลอดจนสนองนโยบายของจังหวัดแพร่ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและขยายผลโครงการตามพระราชดําร และในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรได้ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้
1. เสนอแนวทางการการปรับปรุงเตาเผาเชื้อเพลิงในกระบวนการกลั่นสุราแบบเดิมที่กลุ่มเกษตรกรใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพทางความร้อนให้มากขึ้น เพื่อลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง (ฟืนไม้) ลงให้ได้มากที่สุด
2. เสนอแนวทางการปรับปรุงเตาเผาเชื้อเพลิงของหอกลั่นสุราแบบหม้อต้มไอน้ำโดยการเพิ่มชั้นชนวนความร้อนด้านข้างของผนังเตาเผา
3. ทำการศึกษาและพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดใหม่จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยมุ่งเน้นวัสดุเศษซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มีมากและหาได้ง่ายในพื้นที่
4. เสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตสุรากลั่นให้มีความต่อเนื่อง ได้คุณภาพของผลผลิตที่มีคุณภาพและคงที่ ตลอดจนสามารถลดการใช้แรงงานในกระบวนการกลั่นสรา โดยใช้ระบบอุปกรณ์ตรวจวัดและอุปกรณ์ควบคุมกึ่งอัตโนมัติเข้ามาช่วย
และจากการเข้าไปพบบะพูดคุยและให้บริการวิชาการในครั้งนี้ ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้เสนอให้มีการทำความร่วมมือด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กับทางคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อการพัฒนาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตสุรากลั่นพื้นบ้านให้มีประสิทธิภาพมาขึ้น ตลอดจนการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีความหลากหลาย มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อวัตถุประสงค์เชิงพานิชย์ และเป็นการสนับสนุนชุมชนอย่างยื่งยืน