งานบริการวิชาการและวิจัย
Academic Services and Research
CPF ร่วมกับคณะวิศวฯ จัดโครงการสัมนาทางวิชาการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยคุณเพ็ญผกา แม้นศิริ รองกรรมการผู้จัดการด้านประกันคุณภาพ ร่วมกับผู้บริหาร และคณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ร่วมปรึกษาหารือ เกี่ยวกับรายละเอียดการจัดโครงการสัมนาวิชาการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้ทางวิชาการจากทางมหาวิทยาลัยและภาคปฎิบัติจริงจากทางบริษัท ให้แก่นักศึกษาและพนักงานในบริษัท  และเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะจบการศึกษาให้สามารถเลือกประกอบอาชีพตามที่ต้องการได้ อีกทั้งเป็นการสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัท โดยการหารือในครั้งนี้ได้มีการปรึกษา และร่วมกันคิดรูปแบบการจัดงาน โดยจะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2557 นี้ 
6 มิถุนายน 2557     |      458
โครงการพัฒนาศักยภาพด้านงานวิจัย "การวางแผนและวิเคราะห์งานวิจัย สู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ”
       คณะกรรมการบริหารงานบริการาวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของคณะฯ ขึ้น โดยได้กำหนดหัวข้อ เรื่อง “การวางแผนและวิเคราะห์งานวิจัย สู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ” เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ดำเนินการวิจัยตามแผนงานที่ได้ถูกต้อง และวิเคราะห์งานวิจัยได้ถูกต้อง เพื่อได้งานวิจัยที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับในการเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการรับชาติ นานาชาติ และวารสารวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนวิจัยคณะฯ ในการทำวิจัย และเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรคณะและหน่วยงานอื่น        โดยโครงการในครั้งนี้ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการวางแผนและการวิเคราะห์การทดลอง โดย อาจารย์อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรใรครั้งนี้ โดยมีีคณบดี และรองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการ ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา จำนวนมาก 
3 มิถุนายน 2557     |      289
นักวิจัยคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร คว้ารางวัล KIWIE 2014 I ณ ประเทศเกาหลีใต้
      คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรขอแสดงความยินดีกับ ดร.สุธยา พิมพ์พิไล 1 ในทีมนักวิจัยที่คว้ารางวัลในการแข่งขัน Korea International Women’s Inventions 2014 (KIWIE 2014) ระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2557  ณ aT Center (Kangnam Daero, Secho-gu,Seoul ) ประเทศเกาหลีใต้ นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ข้ามสี่ ผู้อำนวยการสำนักสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร และนักวิจัยจำนวน 3 ท่าน คว้ารางวัลเหรียญทอง รางวัลเหรียญเงินและรางวัลเหรียญทองแดง  ในการเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยและนักประดิษฐ์สตรีจากนานาชาติ   ได้แก่       1.รศ.ดร.อรุณี คงดี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับเหรียญทอง จากผลงานวิจัยการสกัดโปรตีน fibroin ในขั้นตอนการผลิตผ้าไหมให้สวมใส่สบาย        2.ผศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงฯ ได้รับเหรียญเงิน จากผลงานไบโอมาสก์จากสาหร่ายไก       3.ผศ.ดร.สุธยา พิมพ์พิไล คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง จากผลงาน Antioxidative Phenorice สารสกัดจากใบข้าว 
3 มิถุนายน 2557     |      433
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
        คณะกรรมการบริหารงานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร จะได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2557 เรื่อง “การวางแผนและวิเคราะห์งานวิจัย สู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ” เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ดำเนินการวิจัยตามแผนงานและวิเคราะห์งานวิจัยที่ได้ถูกต้อง โดยมี อาจารย์อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล จากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในการวางแผนการทดลองและวิธีการวิเคราะห์ผลการทดลองโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ผลทางสถิติ (spss)         จึงขอเชิญคณาจารย์และบุคลากรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ในวันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2557 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ ห้อง E122 ชั้น 1 อาคาร   เรียนรวมคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  และกรุณาแจ้งชื่อเข้าร่วมได้ที่งานบริการวิชาการและวิจัย  สำนักงานเลขานุการคณะ ภายในวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2557 เพื่อรวบรวมและดำเนินการต่อไป
21 พฤษภาคม 2557     |      261
การพัฒนางานวิจัย เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Organic /Green /Eco U
งานบริการวิชาการและวิจัย จัดโครงการ km ด้านงานวิจัย  วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557 ณ ห้อง e122 อาคารเรียนรวม พร้อมชมการแสดงผลงานงานวิจัย ลานเอนกประสงค์ชั้น 1 โดยได้รับเกียรติจากนักวิจัยรุ่นใหม่อาจารย์ดร.กนกวรรณ ตาลดีอาจารย์ดร.ทิพาพร คำแดงอาจารย์ดร.กาญจนา นาคประสม และ อาจารย์ดร.ภูวนาท ฟักเกตุ   ร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง "การพัฒนางานวิจัย เพื่อก้าวสูการเป็นมหาวิทยาลัย Organic /Green /Eco U" เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านงานวิจัยระหว่างบุคลากรสายวิชาการ นำไปสู่การแนะนำ ชี้แนะแนวทาง กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจในการคิดโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัย อีกทั้งยังป็นการสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อการก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Organic /Green /Eco U ต่อไปโครงการในครั้งนี้จะประกอบด้วย1. การเสวนาเรื่อง “การพัฒนางานวิจัย เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Organic /Green /Eco U” 2. การชมการจัดแสดงผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ภายในคณะ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านงานวิจัยระหว่างบุคลากรสายวิชาการ นำไปสู่การแนะนำ ชี้แนะแนวทาง กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจในการคิดโจทย์วิจัยและดำเนินการวิจัย 
15 พฤษภาคม 2557     |      399
การลงนามความร่วมมือด้านงานบริการวิชาการกับเทศบาลตำบลแม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
        คณบดีคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้ลงนามความร่วมมือทางด้านการบริการวิชาการกับเทศบาลตำบลแม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ การบริการวิชาการ และกิจกรรมของนักศึกษาของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร กับชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ การปรับใช้วิชาการเป็นอาชีพ การสร้างจิตอาสา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และการสร้างสุขภาวะที่ดี โดยใช้การบริการวิชาการเป็นสื่อกลางในการบูรณาการตามสภาพพื้นที่จริง นอกจากนี้จะก่อให้เกิดการพัฒนาและประโยชน์สุขแก่ชุมชน คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างมีส่วนร่วม 
15 พฤษภาคม 2557     |      298
งานประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 12
   ตามที่ได้มีการจัดการประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติมาเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงานร่วมภายใต้ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงมหาวิทยาลัยภาคีร่วม ที่มีพัทธกิจในการเรียนการสอนและการวิจัยด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิขาการระดับชาติต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลา 11 ครั้ง สำหรับในปี 2557 ซึ่งเป็นครั้งที่ 12 สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาดังกล่าวร่วมกับศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกอบกับการจัดประชุมในครั้งนี้จะเป็นการร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50ปี ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปีพุทธศักราช 2557 ดังนั้น การจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่นักวิชาการ นักวิจัย จากหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและรัฐและบุคคลทั่วไปในประเทศไทย ที่สนใจงานทางด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวจะได้มาพบปะเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนวิทยาการใหม่ๆ ทางด้านการเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยววัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ ภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งนิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เสนอผลงาน แลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในการวิจัยต่อไปให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในสายงานวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว ได้นำข้อมูลความรู้ไปประยุกต์ใช้ทั้งในด้านงานวิจัยและปฎิบัติงานจริงเพื่อสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาการ และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของไทยต่อไปในอนาคตเพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่หัวข้อการประชุมPostharvest SafetyPostharvest BiologyPostharvest LogisticsPostharvest Machineryโดยจำแนกตามประเภทของการผลิต คือ พืชสวน, พืชไร่, เนื้อสัตว์ ซึ่งต้องเป็นผลิตภัณฑ์สดที่ยังไม่ได้ทำการแปรรูปผลิตผล เช่น การเก็บรักษาผัก ผลไม้ ดอกไม้ ธัญพืช เมล็ดพันธุ์ และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ไม่รวมผลิตผลตากแห้ง แช่แข็ง ผักผลไม้บรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์แปรรูปผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://post2014.phtnet.org/
15 พฤษภาคม 2557     |      969
โครงการบริการวิชาการ แหนมเพื่อสุขภาพ
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 งานบริการวิชาการและวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับเทศบาลตำบลสุเทพ ได้จัดโครงการบริการวิชาการ "แหนมเพื่อสุขภาพ" ให้แก่กลุมแม่บ้านบ้านโป่งน้อย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการผลิตแหนมที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ปรับปรุงสูตรการผลิตและบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แหนม โดยการให้ความรู้จาก รศ.ดร.วิจตรา แดงปรก อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในการผลิตแหนมซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มแม่บ้านเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งโครงการนี้ยังเป็นการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรสาธิตการทำแหนมให้แก่กลุ่มแม่บ้านโดยตรง ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากขึ้น  โดยโครงการนี้ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากผู้ใหญ่บ้านและเทศบาลตำบลสุเทพเป็นอย่างดี และเห็นควรว่าจัดโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนากลุ่มแม่บ้านให้มั่นคงต่อไป
15 พฤษภาคม 2557     |      392
ประกาศผลโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 2557
ตามที่คณะกรรมการบริหารงานบริการวิชาการและวิจัยได้เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการวิจัย เงินรายได้ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕7 เพื่อดำเนินโครงการวิจัยภายในคณะฯ และตอบสนองต่อนโยบายการวิจัยของคณะปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เมื่อวันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖  นั้น                   ในการนี้ งานบริการวิชาการและวิจัย จึงขอประกาศผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7  โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยโดยไม่มีข้อแก้ไขสามารถมาลงนามในสัญญารับทุนได้ที่งานบริการวิชาการและวิจัย สำนักงานเลขานุการ   ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2557 เป็นต้นไปงาน สำหรับโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยโดยมีข้อแก้ไขขอให้ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยส่งข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับแก้ไข ภายในวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2557 และสามารถลงนามในสัญญารับทุนได้หลังจากที่ส่งข้อเสนอโครงการวิจัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วเอกสารแบบ : ประกาศผลโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 2557ประกาศผลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕7ลำดับโครงการวิจัยผลการพิจารณาโครงการวิจัยได้รับทุนแบบไม่มีข้อแก้ไขได้รับทุนแบบมีข้อแก้ไขสายวิชาการ1การศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการละลายไขผึ้ง2การศึกษาและพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจวัดค่าปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกอง(วิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1)3การหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารฟีโนลิกจากเมล็ดลำไย (Dimocarpus longan Lour) โดยวิธีไมโครเวฟร่วม4ฉนวนกันความร้อนจากโฟมยางธรรมชาติ5กระบวนการอบแห้งเครื่องเทศและสมุนไพรในระดับ SMEs6สมบัติความทนต่อความร้อนและความสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพชองยางโฟมธรรมชาติที่ใช้รำสกัดน้ำมันเป็นสารตัวเติม7ผลกระทบของสภาวะและวิธีการอบแห้งต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสาหร่ายเตาอบแห้ง8การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบเทอร์โมไซฟอนชนิดอากาศไหลสวนทางสายสนับสนุน9การศึกษาผลกระทบของวิธีการอบแห้งแสงอาทิตย์ต่อการเปลี่ยนแปลงของจลนพลศาสตร์การอบแห้งใบเตยหอม10การศึกษาผลของเปลือกลำไยที่ใช้เป็นสารตัวเติมต่อสมบัติของฟองน้ำยางธรรมชาติ11การศึกษาค่าใช้จ่ายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ปีการศึกษา 255612แรงจูงใจในการเข้าร่วมเป็นผู้นำนักศึกษาของนักศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ประจำปี พ.ศ.255713ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้14การรักษาสีหญ้าหวานอบแห้งด้วยการใช้อุณหภูมิแบบหลายชั้น
15 พฤษภาคม 2557     |      330
การทำปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกอง รายการปราชญ์แม่โจ้
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 รายการปราชญ์แม่โจ้ ซึ่งเป็นรายการที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจผ่านยังหน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัย และเว็บไซต์MJUChanel ได้มาถ่ายทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่กลับกองซึ่งเป็นงานวิจัยของ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยงานวิจัยนี้ได้มีการจัดตั้งเป็นฐานเรียนรู้ทางการเกษตรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเข้ามาอบรมซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้เผยแพร่สู่งานบริการวิชาการและมีการนำไปใช้ประโยชน์และได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในระดับชาติและนานาชาติอย่างมากมาย
15 พฤษภาคม 2557     |      455
ทั้งหมด 14 หน้า